วันพืชมงคล

 

ผ่านมาแล้วเกือบสัปดาห์กับวันพืชมงคล ซึ่งได้ไปร่วม “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี ๒๕๕๘” ด้วย ก่อนวันนั้นก็หาข้อมูลในเน็ตว่าเขาจัดกันกี่โมง หายากจริงๆ ได้ความว่าเขาเริ่มจัดตั้งแต่ ๘ โมงเช้า ก็เลยต้องรีบตื่นหน่อย แล้วตอนเช้าฝนก็ตกอีก ตกหนักด้วยประเด็น ต้องฝ่าฝนไปขึ้นรถเมล์ ๒ ต่อเพื่อไปถึงสนามหลวง มิน่าถึงเป็นวันพืชใช่ไหมหล่ะ เพราะพืชก็ต้องการน้ำ แต่คืนหลังจากวันนั้นมา ๕ วันแล้วกรุงเทพก็ไม่ตกอีกนี่สิ ไปตกทางอื่นหมด แดดนี่แสกหน้าเลย แต่ว่าก็ดีละ เดี๋ยวกรุงเทพน้ำท่วมIMG_9095นั่งรถเมล์สาย ๑๒ จากห้วยขวางไปอนุ และสาย ๕๙ จากอนุ ไปสนามหลวง

IMG_9098ป้ายกล่าวถึงวันพืชมงคล เพราะสังคมไทยเป็นสังคมการเกษตร ก็จริง แต่คืนคนกรุงเทพกลายเป็นสังคมพนักงานไปแล้วนะ  IMG_9103วันหยุดก็ยังต้องเดินทาง

IMG_9106ถึงละสนามหลวง แล้วตึกนี้เกี่ยวอะไร แถวเดียวกันนั่นแหละนะ

IMG_9109 IMG_9113ตอนไปถึงคนยังไม่เยอะ แต่ว่าตอนนั้นก็ ๘ โมงนิดๆแล้วนะ งานยังไม่เริ่ม

IMG_9107แอบส่องบุคคลสำคัญในงาน นั่นก็คือพระโค งานนี้พระเอกเลย IMG_9110 (2)งานนี้คุณตำรวจก็เยอะจริงๆนะ เกณฑ์มาหมดกองเลยมั้ง

IMG_9116 (2)แล้วตรงนี้เค้าทำอะไรอยู่น๊า เข้าไปถาม

IMG_9119 (2)เขาก็กำลังเก็บข้าวเปลือกที่ทางพระราชวังเขาหว่านให้ เยอะมากเลยนะ หว่านในนกแถวนี้ และก็ให้คนเก็บไปก่อน ดีกว่าไปเเย่งกันในลานพิธี ถือถุงมากันเยอะแยะเลย พี่คนนึงบอกว่าข้าวพวกนี้ก็ผ่านพิธีมาเมื่อวานนั่นแหละ อ่ออ…

IMG_9121 (2) IMG_9123 IMG_9124 (2) IMG_9126 (2)หนูเข้าไปถามพี่วินว่าพี่วินเก็บไปจะทำอะไร พี่เขาบอกว่ามีน้องทำนาที่เพชรบุรีจะเอาไปให้ ก็ว่า พี่ขับมอไซจะได้ทำนาเหรอ รึพี่จะกลับไปทำนะ

IMG_9135นี่แหละน้า เกษตรกร หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน  IMG_9136แต่ถ้าฟ้ามันร้อนก็ต้องขอพึ่งร่มหน่อย IMG_9160 (2)เก็บหน่ะไม่เท่าไหร่ ขอท่าไว้ก่อน IMG_9169 (2) IMG_9179 (2) IMG_9181เข้าไปคุยกับลุงคนนี้ ถามว่าลุงเก็บไปทำไมคะ ดูท่าจะเป็นคนแถวนี้ ลุงบอก เก็บไปงั้นๆแหละ อ้าววว… ขำเลย IMG_9176 (2) IMG_9173 (2) IMG_9154 (2) IMG_9158 (2) IMG_9177 (2) IMG_9183 (2)อิ้นดี้ๆ

IMG_9129หลังจากดูคนเก็บข้าวเปลือกแล้วก็หันมาทางพระราชพิธีบ้าง ฟ้าชายเสด็จเป็นองค์ประทานในพระราชพิธี (หนูใช้คำราชาศัพท์ไม่เป็น ถ้าไม่ถูกขออภัยด้วยค่ะ) IMG_9132แขกผู้มาร่วมงาน เยอะมากจ้า รอบทิศเลย ข้าราชการระดับกระทรวงทั้งนั้น เพราะรถนี่จอดรอบสนามหลวงเลย  IMG_9141ตำรวจขา IMG_9142 (2) IMG_9147 (2)ทางด้านทิศตะวันตกของพระราชพิธี IMG_9150 (2)IMG_9184 IMG_9186 (2)มีรั้วทั้งหมด ๓ ชั้น ได้แก่ ที่กั้นสีเหลือง รั้วคน และรั้วขาว แน่หนาไปอีก แต่รั้วรึจะสู้มวลชน  IMG_9192 (2)หล่อๆไง  IMG_9194ย่อมาจากอะไร บัญชาการนักเรียนมัง  IMG_9197คุณตำรวจยิ้มหน่อยๆ IMG_9198ธงกระทรวง พึ่งรู้วันนี้ว่ามีธงกระทรวงด้วย เอาสัญลักษณ์ของแต่ละกระทรวงมาใส่สีของกระทรวงทำธง IMG_9203พิธีใกล้เริ่มแล้ว IMG_9210 (2)เริ่มแล้วๆ ไม่รู้เค้าเดินอ้อมกันกี่ที ไม่ได้นับ มัวเดินไปเดินมา แต่ก็หลายรอบอยู่นะ มีเสียงแต่เสียงอะไรไม่รู้ด้วย ตามพิธีพราหมณ์ IMG_9214 (2)ขากล้องตัวนี้ใหญ่จริงๆเลย ขอยืมไปถ่ายรูปหน่อยสิ IMG_9216 (2)นั่นไงวงดุริยาง IMG_9218 (2)รอบที่ ๑ IMG_9224 (2)พระโคฟ้าและพระโคเลิศ อายุ ๕ ขวบ มีพระโคสำรองด้วยคือพระโคเพิ่มและพระโคพูน ตามหลักคือต้องสูงไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เซนติเมตร ลำตัวไม่น้อยกว่า ๑๒๐ เซนติเมตร รอบอกไม่น้อยกว่า ๑๘๐ คิดเป็นน้ำหนักน่าจะได้หลายร้อยกิโลเลย   IMG_9225 (2) IMG_9227 (2)คำไถก็ต้องใหญ่หน่อย IMG_9229 (2) IMG_9232 (2) IMG_9233 (2) IMG_9240 (2)คนดูภายนอก IMG_9241 (2)เขาให้หุบร่มด้วยนะ แต่แดดร้อนจริง แดดตอน๙โมงหลังฝนตกอะ คิดดู IMG_9244 (2) IMG_9245 (2)ผมนี่นับถือเลย

IMG_9248 (2) IMG_9247 (2) IMG_9152 (2) IMG_9262 (2) IMG_9336 (2)นอกจากคนที่มารอเข้าไปเก็บข้าวเปลือกและอื่นๆแล้ว ยังมีคนที่มาขายของใช้จำเป็นในงานนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น เสื้อกันฝน ร่ม๑๐๐ บาท พัด เสื่อปูนั่งทำจากซองห่อขนม ๒๐ บาท ข้าวเหนียวหมูทอด สายไหม ขนม ถุงใส่เปลือกข้าวและต้นไม้ในพิธี ถุงเล็ก ๑ บาท ถุงใหญ่ ๑๐ บาท ตอนแรกก็สงสัยว่าขายถุงใหญ่ทำไม ดูต่อไปจะรู้ว่าทำไม

IMG_9250นักข่าว

IMG_9251 (2) IMG_9254 (3)ขณะนี้ เกิดเหตุการณ์ การประชันหน้ากันระหว่างมวลชนและเจ้าหน้าที่ ฮ่าๆ IMG_9257 (2)คนเยอะอยู่นะ แต่แดดร้อนไปนั่งรอก็ได้

IMG_9268 (2)แวะมาเก็บภาพข้างๆ  IMG_9269 (2)นี่ไงรถสีแดง สวยมากเลย ชอบๆ IMG_9271 (2)ไม่ต้องอธิบายเพราะกลัวใช้คำผิด  IMG_9283 (2)โฆษณารถได้เลย IMG_9284 (2)ขบวนตามเสด็จ IMG_9287 (2) IMG_9288 IMG_9297 (2) IMG_9306 (2) IMG_9308 (2)อ้าวหล่ออีกแล้ว

IMG_9292 (2)พิธีใกล้เสร็จแล้ว IMG_9327 (2)เขาเก็บคันไถแล้ว IMG_9311 (2)ดูร่มดิ ขายดีเลย และระหว่างที่ยืนรอ ป้าคนนึงมาขออยู่ร่มด้วย เลยถามป้าว่าป้ามาจากไหน ป้าบอกมาจากบุรีรัมย์ ป้ามากับคณะ ใส่เสื้อทีมเดียวกัน มารับรางวัลชนะเลิศพันธุ์ข้าว..(จำไม่ได้) ป้าคุยกับเพื่อนป้าเป็นภาษาเขมร แต่คุยไทยกับเราได้ เก่งมากเลยป้า ป้าสอนภาษาเขมรเราด้วย “สวัสดี” เขมรบอกว่า “ซับเปีย” “สนามหลวง”เรียก “โตเมือ” และก็พึ่งรู้ว่าภาษาเขมรกับภาษากัมพูชาคนละภาษากัน   IMG_9314พระโคเพิ่มพูน

IMG_9320 (2)คุณตาเท่มากนี่บอกเลย IMG_9317 (2) IMG_9315 (2) IMG_9338 (2)คนมาเก็บข้าวเปลือก IMG_9343 (2) IMG_9346 (2) IMG_9352 (2)เข้าไปแล้ว IMG_9356ล้มกันเป็นแถบ IMG_9357 (2)นี่แหละทำไมเขาถึงขายถุงใหญ่ พี่บอกข้าวเปลือกไม่ต้องขอต้นไม้ก่อนละกัน IMG_9359 (2)ไม่ต้องเปลืองแรงคนเก็บงานจริงๆ มีผู้ชายคนนึงบอกว่าทำไมไม่มีใครเก็บสายสินไปด้วยนะ เราฮาเลยIMG_9363 (2)ุรู้สึกว่าเขาเอามาประดับพระราชพิธี แต่คือก็เก็บไป นี่แหละน้ำใจคนไทย จะได้ไม่ต้องเก็บให้เหนื่อย ต่อไปเอามาแจกเลยดีกว่านะคะ กระทรวงการเกษตร IMG_9364 (2) IMG_9365 (2)คนละไม้คนละมือเดี๋ยวก็หมด IMG_9368 (2)ประวัติพระคันไถ มาจากราชบุรี ยืนอ่านอยู่ ก็มีคุณชุดขาวคนนึงบอกว่าถ่ายรูปไปเลยจะได้ไม่ต้องอ่าน อ้าว รับข่าวสารไวไปอีก เอาจริงๆ ถ่ายไปไม่ค่อยกลับมาอ่านหรอก เลยไม่อยากถ่าย เข้าใจป่ะ? IMG_9366 (2)เค้าเรียก ธงสามชาย ทำด้วยกระดาษและผ้าสักหลาด เหมือนลงรักปิดทองมีพู่ด้วย IMG_9369 (2)พญาครุฑ IMG_9372 (2)เศียรพญานาค IMG_9374 (2)มีคนมาแคะๆเอาดินที่ติดที่ปลายคันไถด้วย IMG_9378 (2) IMG_9380 (2) IMG_9382 (2)เหมือนเคยเห็นแสดงละคร IMG_9387 (2)นี่ไงพระโคที่ขี้แตก IMG_9389 (2) IMG_9395 (2)แดงไปอีก IMG_9399 (2)เค้าเรียกว่าอะไรอะ IMG_9400 (2) IMG_9402 (2)เขาสวยงาม IMG_9398 (2)แจกใบสั่ง นั่นคือประเด็นที่อยากถ่าย ระวังไว้เถอะคุณๆ IMG_9404 IMG_9408 (2)เขี่ยๆหา IMG_9411 (2) IMG_9414 (2) IMG_9415 (2) IMG_9418 (2) IMG_9420 (2) IMG_9422 (2)คิดว่าใครทำเนี่ย IMG_9427 (2)ถ้ามีช่องทางให้เข้าใหญ่ๆและดีๆก็คงไม่ต้องทำกันแบบนี้ ว่าไหม IMG_9429 (2)เลิกแล้วๆ คนเคลียงาน IMG_9437 (2) IMG_9435 (2) IMG_9431 (2)ได้เวลาโผบินแล้ว กลับดีกว่า แต่วันนั้นแฟลชก็ยังไม่ได้กลับหรอก ไปต่อ แต่ขอเป็นเรื่องถัดไปนั่นก็คือเรื่อง “สลากกินแบ่งรัฐบาล” ส่วนวันนี้บ๊ายบาย

 

This entry was published on พฤษภาคม 17, 2015 at 6:11 am and is filed under in my mind. Bookmark the permalink. Follow any comments here with the RSS feed for this post.

ใส่ความเห็น